1. Acids and Bases
ในบทนี้จะเป็นการทำความรู้จักกับกรดเบสก่อนว่าคืออะไร ความแรงหมายถึงอะไร ดูได้อย่างไร พร้อมตัวอย่างและการแบ่งประเภท
1.1 นิยามของกรดเบส
http://www.youtube.com/watch?v=tNtdXAMsyXw&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=jLcoIRUlz20&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=tNtdXAMsyXw&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=jLcoIRUlz20&feature=related
ข้อจำกัด : สารต้องละลายน้ำ และหากไม่มี H หรือ OH ในสารก็จะไม่ได้สามารถบอกได้
- เบรินเสตด-ลาวรี มองการนิยามกรด-เบส จากสมดุล
- กรด คือสารให้ H+ (ในที่นี้ HA เป็นกรดเพราะเมื่อมองไปด้านหน้า HA ให้ H+ ไปกับ B จน B กลายเป็น BH+ และ BH+ ก็เป็นกรดด้วย เพราะหากมองย้อนหลัง BH+ จะให้ H+ ไปกับ A- จน A- กลายเป็น HA)
- เบส คือสารรับ H+ (ในที่นี้ B เป็นเบสเพราะเมื่อมองไปด้านหน้า B รับ H+ จาก HA จนได้เป็น BH+ และ A- ก็เป็นเบสด้วย เพราะหากมองย้อนหลัง A- จะรับ H+ จาก BH+ จน A- กลายเป็น HA)
- นิยามของลิวอิส มองจากการถ่าย H+ ในสมดุล เป็นการถ่ายคู่ e- แทน โดยให้นิยามว่า
- กรด คือสารรับคู่ e- (อาจเรียก Electrophile = ชอบอิเล็กตรอน)
- เบส คือสารให้คู่ e- (อาจเรียก Nucleophile = ชอบนิวเคลียส)
นิยามหลักที่เราจะใช้คือนิยามที่ 2 ส่วนนิยามที่ 3 นั้นจะใช้ในเรื่องเคมีอินทรีย์
1.2 คู่กรด-คู่เบส
จากนิยามของ เบรินเสตด-ลาวรี ซึ่งมองการนิยามกรด-เบส จากการถ่ายโอน H+ ในสมดุล
HA + B <---> A- + BH+
ซึ่งมี HA และ BH+ เป็นกรด , B และ A- เป็นเบส
เราจับคู่ของกรดกับเบสได้สองคู่ คือ
- กรด HA คู่กับ เบส A-
- กรด BH+ คู่กับ เบส B
แต่ละคู่ เรียกว่า คู่กรดเบส และจะได้ว่า
- A- เป็นคู่เบสของ HA , HA เป็นคู่กรดของ A-
- B เป็นคู่เบสของ BH+ , B เป็นคู่กรดของ BH+
Example 1.1 H2CO3 + H2O <---> HCO3- + H3O+
- H2CO3 และ HCO3- เป็นคู่กรดเบสกัน
- H3O+ และ H2O เป็นคู่กรดเบสกัน
- HCO3- เป็นคู่เบสของ H2CO3 , H2CO3 เป็นคู่กรดของ HCO3-
- H2O เป็นคู่เบสของ H3O+ , H3O+ เป็นคู่กรดของ H2O
Example 1.2
- คู่้เบสของ HCN , HBr , HS- , H2O คือ CN- , Br- , S 2- , OH- (คิดง่ายๆว่าเอา H+ ออกตัวนึง)
- คู่กรดของ NH3 , Br- , HS- , H2O คือ NH4+ , HBr , H2S , H3O+ (คิดง่ายๆว่าเอา H+ ใส่เข้าไปอีกตัวนึง)
สังเกตว่า HBr กับ Br- เป็นคู่กรดเบสกัน
ปกติแล้วสารที่มีคู่กรดจะต้องเป็นเบส และสารที่มีคู่เบสจะต้องเป็นกรด (จากที่เราจับคู่กันไป)
แต่จากตัวอย่าง 1.2 จะเห็นว่า HS- และ H2O มีทั้งคู่กรดกับคู่เบส เราเรียกสารที่ทั้งให้และรับโปรตอนได้แบบนี้ว่า Amphoteric หรือ Amphiprotic
1.3 ความแรงของกรด-เบส
- อิเล็กโทรไลต์แก่ คือ กรดแก่ เบสแก่
ถือว่าแตกตัวได้ 100% จึงไม่มีสมดุลขึ้น และนำไฟฟ้าได้ดี (เพราะแตกตัวหมด)
กรดแก่ ได้แก่ HClO4 , H2SO4 , HNO3 , HI , HBr , HCl
เบสแก่ ได้แก่ สารประกอบ OH- กับโลหะหมู่ 1 หรือหมู่ 2 เช่น NaOH , KOH , Ca(OH)2 , Ba(OH)2
- อิเล็กโทรไลต์่อ่อน คือ กรดอ่อน เบสอ่อน
แตกตัวได้ไม่ทั้งหมด ทำให้เกิดสมดุลการแตกตัวขึ้น นำไฟฟ้าได้แต่ไม่ดีเท่าสารละลายอิเล็กโทรไลต์แก่ (เพราะแตกตัวได้น้อยกว่า)
การพิจารณาความแรงโดยดูจากโครงสร้าง
- กรดที่มีอะตอมกลางและออกซิเจน (กรดออกซี)
หากมีอะตอม O ในโมเลกุลมาก จะแรงมาก เพราะ O ดึงขั้วลบไป H ได้ขั้วบวกมากขึ้น จึงหลุดง่ายขึ้น เช่น H2SO4 > H2SO3
ในกรณีที่กรดออกซีมีอะตอมกลางต่างกัน ยิ่ง EN ของอะตอมกลางมาก จะดึงขั้วลบไปมาก ทำให้ H ในโมเลกุลจะมีขั้วบวกมากไปด้วย ดังนั้น EN ของอะตอมกลางมากจะทำให้กรดแรงขึ้น เช่น HClO3 > H2SO4
- เบสที่ละลายน้ำ หากละลายได้ดีจะแรงกว่า เช่น NaOH > Al(OH)3
- กรดไฮโดร ที่มีแค่ H กับอโลหะในหมู่เดียวกัน ยิ่งเลขอะตอมมาก จะแรงมาก เพราะพันธะ H ที่จับจะอยู่ไกลนิวเคลียสของอะตอมกลาง ทำให้ H หลุดง่ายขึ้น เช่น HI > HBr > HCl > HF
- เบสที่มี OH ที่มีแค่ OH กับโลหะในหมู่เดียวกัน ยิ่งเลขอะตอมมาก จะแรงมาก (ด้วยเหตุผลเดียวกับกรดไฮโดรเมื่อกี้) เช่น LiOH < NaOH < KOH
Example 1.3 เปรียบเทียบความแรงระหว่าง
1. H2S กับ HCl
HCl แรงกว่าเพราะ EN ของ Cl มากกว่าของ S (HCl เป็นกรดแก่เลยด้วย)
2. H3PO4 กับ H3PO3
H3PO4 แรงกว่าเพราะมี O ดึงขั้วลบไปมากกว่า
3. H2CO3 กับ HCO3-
H2CO3 แรงกว่าเพราะ HCO3- แตกตัวไปครั้งหนึ่งแล้ว มีไอออนเป็นลบ H จึงมีขั้วบวกได้ยากขึ้น
4. H2S กับ H2Se
H2Se แรงกว่าเพราะ Se มีเลขอะตอมมากกว่า
หมายเหตุ จากตัวอย่างที่ 3 การแตกตัวให้ H+ ของกรดอาจเกิดได้มากกว่าหนึ่งครั้ง โดยครั้งต่อๆไปจะเกิดได้น้อยลงเรื่อยๆ รายละเอียดอยู่ในหัวข้อ 3.4
1.4 ตัวอย่างและประเภทของกรดและเบส
- กรดอินทรีย์ คือกรดที่มีหมู่ฟังก์ชัน -COOH เช่น CH3COOH
- กรดอนินทรีย์ ได้แก่ กรดไฮโดร คือกรดที่มี H กับอโลหะเป็นเดี่ยวหรือกลุ่ม เช่น HCl HCN และกรดออกซี คือกรดที่มี H , O และอโลหะอื่นๆ เช่น HNO3 , H3PO4
- เบสอินทรีย์ คือสารอินทรีย์ี่ทมีหมู่ฟังก์ชัน -NH2
- เบสอนินทรีย์ คือเบสที่มี OH กับโลหะอยู่ด้วยกัน เช่น NaOH , Ca(OH)2
จากตัวอย่าง 1.3 จะเห็นว่า H2CO3 สามารถแตกตัวได้ถึงสองครั้ง เราจึงอาจจำแนกกรดเป็น
- Monoprotic คือกรดที่แตกให้ H+ ได้เพียงตัวเดียว เช่น HNO3 , HI
- Polyprotic คือกรดที่แตกให้ H+ ได้มากกว่า 1 ตัว เช่น H2CO3 (diprotic) , H3PO4 (triprotic) , H2SO4 (diprotic)
No comments:
Post a Comment